โควิด 19
COVID-19 โรคระบาดโควิด-19 เชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสโคโรนา Coronavirus คืออะไร
- โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนา สายพันธุ์ว่า 2019nCoV
- อยู่ในตระกูลเดียวกันกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส (SARS) หรือโรคเมอร์ส (MERS)
- ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
- CO ย่อมาจาก Corona
- VI ย่อมาจาก Virus
- D ย่อมาจาก Disease
- ตัวเลข 19 มาจากปีที่ไวรัสตัวนี้เริ่มระบาดครั้งแรก
- ด้านนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบตั้งข้อสันนิษฐานว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้มาจากไวรัสในค้างคาวที่กลายพันธุ์ โดยมีงูเป็นตัวกักเก็บและแพร่เชื้อ
โควิด 19 โรคโควิด 19 ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เชื้อโคโรนาไวรัสมาจากไหน อันตรายยังไงบ้าง
ข้อมูลไวรัสโคโรนา โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อ ซึ่งเกิดจาก ไวรัสโคโรนา ชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด ไวรัสโคโรน่า ‘สายพันธุ์ใหม่’ Severe acute respiratory syndrome Coronavirus (SARs-CoV-2) คือ เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ไวรัสและโรคอุบัติ ใหม่นี้ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี 2019 ขณะนี้โรค โควิด 19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก

อาการโควิด-19 อาการของโรคโควิด 19 อาการเบื้องต้นเป็นอย่างไร
อาการทั่วไปของโรค โควิด 19 พี่พบมากที่สุดคือ ไข้ ไอ และอ่อนเพลีย อาการที่พบน้อยกว่าแต่อาจมีผลต่อผู้ป่วยบางรายคือปวดเมื่อย คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ท้องเสีย ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น หรือผื่นตามผิวหนัง หรือสีผิวเปลี่ยนตามนิ้วมือนิ้วเท้า อาการเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงนักและค่อยๆเริ่มทีละน้อย บางรายติดเชื้อแต่มีอาการไม่รุนแรง
ผู้ป่วยส่วนมาก (80%) หายป่วยได้โดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ติดเชื้อ โควิด19 มีอาการหนักและหายใจลำบาก ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวเช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือมะเร็งมีแนวโน้มที่จะมีอาการป่วยรุนแรงกว่า อย่างไรก็ตามทุกคนสามารถ ติดโรคโควิด 19 ได้และอาจป่วยรุนแรง คนทุกเพศทุกวัยที่มีอาการไข้ และ/หรือไอร่วมกับอาการหายใจลำบาก/ติดขัด เจ็บหน้าอก เสียงหาย หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ทันที หากเป็นไปได้ แนะนำให้โทรไปล่วงหน้า เพื่อสถานพยาบาลจะได้ให้คำแนะนำ
เราควรทำอย่างไรหากมีอาการของโรค COVID-19 และควรจะไปพบแพทย์เมื่อใด
หากมีอาการไม่รุนแรงเช่นไอเล็กน้อยหรือไข้ต่ำๆ โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ อยู่บ้าน กักตัวเอง และติดตามดูอาการ ปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในการแยกตัวเองจากผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หากท่านอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ท่านต้องเฝ้าระวังอาการไข้และไปพบแพทย์ เมื่อไปสถานพยาบาล ควรสวมหน้ากากและเว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่นและไม่เอามือไปจับพื้นผิวต่างๆ หากเป็นเด็กป่วย ให้ดูแลเด็กให้ทำตามคำแนะนำนี้ด้วย
ไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการหายใจลำบากและ/หรือเจ็บหน้าอก หากเป็นไปได้ โทรไปก่อนล่วงหน้า เพื่อทางสถานพยาบาลจะได้ให้คำแนะนำ
โรคโควิด 19 แพร่ระบาด ระยะแพร่เชื้อโควิด
เราสามารถรับเชื้อจากผู้ติดเชื้อโควิด 19 คนอื่น โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คนผ่านทางละอองน้ำมูก น้ำลายจากจมูกหรือปากซึึ่งออกมาเมื่อผู้ป่วยโรค โควิด 19 ไอ จามหรือพูด ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก ไปไม่ได้ไกล และจะตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว เรารับเชื้อโรคโควิด 19 ได้จากการหายใจเอาละอองเข้าไปจากผู้ป่วย เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะรักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร ละอองเหล่านี้ยังตกลงสู่วัตถุและพื้นผิวต่างๆ เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู ราวจับ และเมื่อคนเอามือไปจับพื้นผิวเหล่านั้นแล้วมาจับตา จมูกหรือปาก ก็จะมีเชื้อโรค นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอลเจลถูมือ
องค์การอนามัยโลก กำลังทำการศีกษาวิจัยเรื่องวิธีการแพร่เชื้อ และจะได้มาเผยแพร่ข้อค้นพบในลำดับต่อไป
เราจะสามารถติด เชื้อโควิด 19 จากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการได้หรือไม่
โรคโควิด19 แพร่ทางละอองจาก ระบบทางเดินหายใจ ของผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยไอ หรือมีอาการอื่นเช่นไข้หรืออ่อนเพลีย ผู้ป่วยโควิด 19 จำนวนมากมีอาการเพียงเล็กน้อยโดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เราจะ ติดเชื้อ โควิด19 จากผู้ป่วยที่ไอเล็กน้อยและไม่รู้สึกป่วยเลย
มีรายงานบางฉบับระบุว่าผู้ป่วย โควิด ที่ไม่แสดงอาการ เลยก็สามารถแพร่เชื้อ ได้ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบกันว่ากรณีนี้เกิดมากน้อยเท่าใดองค์การอนามัยโลกกำลังทำการศีกษาวิจัยเรื่องการแพร่เชื้อ และจะได้มาเผยแพร่ข้อค้นพบในลำดับต่อไป
COVID-19 โควิด 19 เราจะป้องกันตัวเองและคนที่เรารักได้อย่างไรหากไม่รู้ว่าใครมีเชื้อบ้าง
การรักษาสุขอนามัยของมือ และมารยาทในการ ไอ/จาม เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำตลอดเวลาและเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันตัวเองและคนที่เรารัก เมื่อเป็นไปได้ รักษาระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อยืนใกล้คนที่กำลังไอหรือจาม เนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายอาจยังไม่แสดงอาการ การเว้นระยะห่างจากทุกคนก็ยังเป็นความคิดที่ดีหากคุณอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของ โรคโควิด 19
เราควรทำอย่างไรหากเราไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ โควิด 19
หากคุณไปสัมผัสใกล้ชิดกับ ผู้ติดเชื้อโควิด 19 คุณก็อาจจะติดเชื้อได้ การสัมผัสใกล้ชิดหมายถึงอาศัยอยู่ด้วยกันหรืออยู่ใกล้กันภายในระยะ 1 เมตรกับผู้ป่วย ในกรณีเหล่านี้ ควรอยู่บ้าน อย่างไรก็ตาม หากท่านอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ท่านต้องเฝ้าระวังอาการไข้และไปพบแพทย์ เมื่อไปสถานพยาบาล ควรสวมหน้ากากและเว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่นและไม่เอามือไปจับพื้นผิวต่างๆ หากเป็นเด็กป่วย ให้ดูแลเด็กให้ทำตามคำแนะนำนี้ด้วย
หากคุณไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ให้ปฏิบัติตามนี้
- หากมีอาการป่วย แม้เพียงอาการไม่รุนแรง ให้แยกตัวเอง
- แม้คุณจะคิดว่าไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับเชื้อ แต่มีอาการ ก็ควรจะแยกกักตัวเองและสังเกตอาการ
- คุณมีแนวโน้มมากกว่าที่จะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นในระยะเริ่มแรกที่อาการไม่รุนแรง เพราะฉะนั้น การรีบแยกกักตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
- หากคุณไม่มีอาการใดแต่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ให้แยกกักตัวเองเป็นเวลา 14 วัน
หากคุณเป็น ผู้ป่วยโรคโควิด 19 (ยืนยันโดยการตรวจ) ให้แยกตัวเองต่อ 14 วันแม้อาการจะหมดไปแล้วเพื่อเป็นการระมัดระวัง ขณะนี้ยังไม่แน่นอนว่าคนยังสามารถแพร่เชื้อต่อได้เป็นเวลาเท่าใดหลังจากหายแล้ว ให้ทำตามคำแนะนำของทางการเรื่องการแยกตัวอย่างเคร่งครัด
การแยกตัวเองหมายความว่าอะไร
การแยกตัวเองเป็นมาตรการสำคัญที่ผู้ติดเชื้อควรทำเพื่อเลี่ยงการ แพร่เชื้อ ให้ผู้อื่นในชุมชน รวมถึงสมาชิกในครอบครัวด้วย
การแยกตัวเอง ทำเมื่อผู้ที่มีอาการไข้ เจ็บคอ หรืออาการของโรค โควิด19 อื่นๆอยู่บ้านและไม่ไปทำงาน โรงเรียน หรือที่สาธารณะ การแยกตัวเองนี้อาจทำโดยสมัครใจหรือขึ้นอยู่กับคำแนะนำของผู้ให้การรักษา อย่างไรก็ตาม หากท่านอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ท่านต้องเฝ้าระวังอาการไข้และไปพบแพทย์ เมื่อไปสถานพยาบาล ควรสวมหน้ากากและเว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่นและไม่เอามือไปจับพื้นผิวต่างๆ หากเป็นเด็กป่วย ให้ดูแลเด็กให้ทำตามคำแนะนำนี้ด้วย
หากไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ให้ปฏิบัติตามนี้ หากมีคนต้องแยกกักตัวเองเพราะป่วยแต่ไม่ได้ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์
- มีพื้นที่กว้างที่ระบายอากาศได้ดี พร้อมอุปกรณ์ดูแลสุขอนามัยของมือและห้องน้ำ
- หากเป็นไปไม่ได้ ให้แยกเตียงออกห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
- รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว
- ติดตามอาการรายวัน
- แยกตัวเอง 14 วัน แม้จะรู้สึกแข็งแรงดี
- หากมีอาการหายใจลำบาก ติดต่อผู้ให้บริการทางการแพทย์ โดยโทรไปก่อนล่วงหน้าหากทำได้
- คิดบวกและสร้างพลังให้ตัวเองด้วยการติดต่อกับคนที่รักทางโทรศัพท์หรือทางออนไลน์และออกกำลังกายที่บ้าน
เราต้องทำอย่างไรหากไม่มีอาการอะไร แต่คิดว่าอาจไปสัมผัสเชื้อ โควิด 19 มา แปลว่าต้องกักตัวเองหรือไม่
การกักตัวเอง คือการ แยกตัวเองจากผู้อื่น เพราะเราไปสัมผัสผู้ป่วย โควิด 19 มา แม้ว่าเราจะไม่มีอาการเลย ช่วงการกักตัวนี้เราต้องสังเกตอาการตัวเอง จุดประสงค์ของการกักตัวคือป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ผู้ป่วยโควิด 19 สามารถแพร่เชื้อได้ในทันที ดังนั้นการกักตัวจึงเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ ในกรณีนี้
อย่างไรก็ตาม หากท่านอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ท่านต้องเฝ้าระวังอาการไข้และไปพบแพทย์ เมื่อไปสถานพยาบาล ควรสวมหน้ากากและเว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่นและไม่เอามือไปจับพื้นผิวต่างๆ หากเป็นเด็กป่วย ให้ดูแลเด็กให้ทำตามคำแนะนำนี้ด้วย
ความแตกต่างระหว่างการแยกตัว การกักตัว และการเว้นระยะ คืออะไร
การกักตัว คือการจำกัดกิจกรรมต่างๆ หรือการแยกผู้ที่ไม่ป่วย แต่อาจมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โควิด 19 จุดประสงค์คือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในห้วงเวลาที่คนเริ่มมีอาการ
การแยกตัว หมายถึงการแยกผู้ป่วยที่มีอาการของโรคโควิด 19 และอาจแพร่เชื้อได้ จึงทำเพื่อป้องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
การเว้นระยะ คือการอยู่ห่างกันและกัน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น ส่วนนี้เป็นมาตรการทั่วไปที่ทุกคนควรทำถึงแม้ว่าจะแข็งแรงดีและไม่มีประวัติสัมผัสโรคโควิด 19 เลยก็ตาม
เด็กหรือวัยรุ่นติดเชื้อโควิด 19 ได้หรือไม่
งานวิจัยระบุว่าเด็กและวัยรุ่นก็มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อได้เท่ากับกลุ่มอายุอื่นๆและสามารถแพร่เชื้อได้ หลักฐาน ณ ปัจจุบันบ่งชี้ว่าเด็กและวัยหนุ่มสาวจะไม่ค่อยมีอาการรุนแรง แต่อาการรุนแรงก็ยังคงเกิดได้ในกลุ่มอายุนี้
ทั้งเด็ก และ ผู้ใหญ่ ควรทำตามข้อแนะนำเรื่องการกักตัวและการแยกตัวหากมีความเสี่ยงสัมผัสโรคหรือมีอาการต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่เด็กควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรง
เราควรทำอย่างไรเพื่อป้องกันตัวเองและการ แพร่ระบาดของ โรคโควิด19
ติดตามข่าวสารข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการระบาดของโรค โควิด19 ซึ่งหาได้จากเวปไซต์ขององค์การอนามัยโลกและหน่วยงานด้านสาธารณสุขของท่าน หลายประเทศทั่วโลกมีตัวเลขผู้ป่วยยืนยันและหลายประเทศกำลังมีการระบาดใหญ่ ทางการในประเทศจีนและบางประเทศประสบความสำเร็จในการชะลอการระบาด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ไม่สามารถคาดเดาได้จึงควรติดตามข่าวสารต่อเนื่อง
เราสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือการแพร่เชื้อได้ด้วยการทำตามข้อควรระวังดังนี้
- ล้างมือบ่อยๆให้สะอาดด้วยแอลกอฮอลเจลหรือด้วยน้ำและสบู่ เพราะการทำความสะอาดมือด้วยสองวิธีนี้เป็นการฆ่าเชื้อโรคที่อยู่บนมือเรา
- รักษาระยะอย่างน้อย 1 เมตร จากผู้อื่น เพราะเมื่อคนไอ จาม หรือ พูด จะทำให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็กจากจมูกและลำคอซึ่งอาจมีเชื้อโรคได้ ถ้าอยู่ใกล้เกินไปก็จะหายใจเอาฝอยละอองเหล่านั้นเข้าไปด้วยซึ่งมีเชื้อโรคปนอยู่ ในกรณีที่คนนั้นไม่สบาย
- เลี่ยงการไปพื้นที่หนาแน่น เพราะเมื่อคนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าใกล้ผู้ป่วยโควิด 19 และเมื่อคนหนาแน่นก็จะรักษาระยะห่าง 1 เมตรได้ยาก
- เลี่ยงการเอามือมาจับตา จมูกและปาก เพราะมือไปสัมผัสอะไรมาหลายอย่างและอาจไปสัมผัสเชื้อโรคมาด้วย เมื่อมือปนเปื้อนก็จะส่งต่อเชื้อโรคไปยังตา จมูกและปาก จากนั้นเชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายและทำให้เราป่วย
- ทั้งตัวเราเองและคนรอบข้างควรมีสุขลักษณะที่ดีเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งหมายความว่า ต้องปิดปากทุกครั้งที่ไอหรือจามด้วยข้อศอกหรือด้วยกระดาษทิชชู จากนั้นทิ้งกระดาษทิชชูทันทีและล้างมือ เพราะฝอยละอองแพร่เชื้อได้ ถ้ามีมารยาทในการไอ/จามที่ดี เราก็ป้องกันคนรอบตัวจากเชื้อโรคอื่นๆด้วยเช่น หวัด ไข้หวัดและโรคโควิด 19
- อยู่บ้านและแยกตัวเองถึงแม้จะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไอ ปวดศีรษะ ไข้ จนกว่าจะหายดี ให้ใครมาส่งเสบียงและสิ่งของจำเป็น แต่หากต้องออกจากบ้านใส่หน้ากากเพื่อป้องกันการไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เพราะการเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นเป็นการป้องกันผู้อื่นจากเชื้อโควิด 19 และเชื้อโรคอื่นๆ
- หากมีอาการไข้ และ/หรือไอร่วมกับอาการหายใจลำบาก/ติดขัด ควรปรึกษาแพทย์ทันที หากเป็นไปได้ แนะนำให้โทรไปล่วงหน้า เพื่อสถานพยาบาลจะได้ให้คำแนะนำ เพราะหน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นมีข้อมูลของสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ของท่าน การโทรไปแจ้งล่วงหน้าจะทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถแนะนำท่านให้ไปยังหน่วยบริการทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันตัวท่านเองและป้องการการแพร่กระจายของไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆด้วย
- ติดตามข่าวสารจ้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น องค์การอนามัยโลกและหน่วยงานสาธารณสุข เพราะทางการและท้องถิ่นจะให้ข้อมูลได้ดีที่สุดว่าคนในพื้นที่ควรจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันตนเอง
ขณะนี้มีวัคซีน ยาหรือการรักษาโควิด 19 โดยเฉพาะหรือไม่
ขณะที่ยาแผนปัจจุบัน แผนโบราณและการรักษาตามบ้านหลายตำรับอาจทำให้สบายขึ้นและบรรเทาอาการได้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง แต่ก็ยังไม่มียาป้องกันหรือรักษาโควิด 19โดยเฉพาะ องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้กินยาเองซึ่งรวมถึงยาปฏิชีวนะต่างๆไม่ว่าจะกินเพื่อป้องกันหรือเพื่อรักษา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการทดลองทางคลิกนิกเพื่อทดลองยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณหลายสูตร องค์การอนามัยโลกอยู่ระหว่างการประสานความพยายามต่างๆที่จะพัฒนาวัคซีนป้องกันและยารักษาโควิด 19 นี้ และจะมาให้ข้อมูลข่าวสารเมื่อมีผลของการวิจัยออกมา
วิธีที่ได้ผลที่สุดที่จะป้องกันท่านและผู้อื่นจากโควิด 19 คือ
- การล้างมือบ่อยๆ
- เลี่ยงการเอามือมาสัมผัสตา จมูกและปาก
- ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือข้อศอกเมื่อไอหรือจาม ทิ้งกระดาษทิชชูทันทีและล้างมือให้สะอาด
- รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น
เชื้อไวรัสโควิด 19สามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวต่างๆได้นานแค่ไหน
สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรรู้เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาบนพื้นผิวต่างๆคือ สามารถทำความสะอาดได้อย่างง่ายดายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับงานบ้านทั่วไป งานศึกษาวิจัยระบุว่าเชื้อนี้อาจมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวสเตนเลสและพลาสติกถึง 72 ชั่วโมง น้อยกว่า 4 ชั่วโมงบนทองแดง และน้อยกว่า 24 ชั่วโมงบนกล่องกระดาษแข็ง
เหมือนเช่นเคย เราควรทำความสะอาดมือด้วยการใช้เจลแอลกอฮอล์หรือล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เลี่ยงการสัมผัสตา ปากและจมูก
เราจะไปจับจ่ายซื้อของอย่างไรให้ปลอดภัย
เมื่อไปจับจ่ายซื้อของ เว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่นและเลี่ยงการสัมผัสตา ปากและจมูก หากเป็นไปได้ ทำความสะอาดมือจับรถเข็นหรือตะกร้าก่อนใช้ เมื่อกลับบ้าน ล้างมือให้สะอาดและล้างหลังจากหยิบจับของที่ซื้อมา ขณะนี้ยังไม่มีกรณีผู้ป่วยยืนยันว่าติดเชื้อจากอาหารหรือบรรจุภัณฑ์อาหาร
ควรล้างผักผลไม้อย่างไร
ผักผลไม้เป็นส่วนสำคัญของโภชนาการที่ดี ให้ล้างผักผลไม้ตามสถานการณ์ปกติ นั่นคือ ก่อนหยิบจับ ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ จากนั้น ล้างผักผลไม้ให้สะอาดโดยเฉพาะถ้าจะบริโภคแบบดิบ
ยาปฏิชีวนะสามารถป้องกันและรักษาโรคโควิด 19 ได้หรือไม่
ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาการติดเชื้อไวรัสได้ ยาปฏิชีวนะจะได้ผลดีในการรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียเท่านั้น โรคโควิด 19 เกิดจากเชื้อไวรัส ดังนั้น ยาปฏิชีวนะจึงใช้ไม่ได้ผล ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ในโรงพยาบาลแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการแทรกซ้อนของโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ดังนั้นจึงควรใช้ยาปฏิชีวนะภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น ข่าวโควิด19
เราสามารถ ติดเชื้อโควิด 19 จากอุจจาระของผู้ป่วยได้หรือไม่
มีงานศึกษาวิจัยที่ระบุว่าอาจมีการพบไวรัสชนิดนี้ในอุจจาระได้ในบางกรณี แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 ผ่านทางอุจจาระ นอกจากนี้ ยังไม่มีหลักฐานว่าไวรัสสามารถรอดชีวิตได้ในน้ำหรือท่อระบายน้ำ องค์การอนามัยโลกกำลังทำการศีกษาวิจัยเรื่องการ แพร่เชื้อโรคโควิด-19 และจะได้มาเผยแพร่ข้อค้นพบในลำดับต่อไป
ข่าวโควิด19 รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำประเทศไทย
ข่าวโควิด19 รายงานสถานการณ์โควิด19. อัพเดทข้อมูลล่าสุด : ข่าวโควิด 19 อัปเดตสถานการณ์โควิด19 ล่าสุด COVID-19 ศูนย์กลางข้อมูลโคโรนาไวรัส (COVID-19) ที่เรียกว่า โควิด19 นั่นเอง เช็กข่าวรายวัน จำนวนผู้ติดเชื้อ อาการโควิด การป้องกัน หน้ากาก อัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 COVID-19 หรือ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สถิติผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทย และทั่วโลก พร้อมข้อควรรู้สู้ภัยโควิด-19 รายงานข่าวระบุว่ากอริลลาหลายตัวในสวนสัตว์ซานดิเอโก เมืองใหญ่ทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย มีผลตรวจโควิด-19
เกาะติดสถานการณ์ โควิด-19 : Arekorenavi.info
ข่าวโควิด19 อัปเดตข่าวล่าสุดสถานการณ์ “โควิด19” (COVID-19) หรือ “ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019” ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก แนวโน้มผู้ติดเชื้อ COVID-19. ทั้งหมดในประเทศไทย อัปเดตล่าสุดการระบาดทั่วของโควิด19 เป็นการระบาดทั่วโลกที่กำลังดำเนินไปของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19;โควิด19) โดยมีสาเหตุมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่